Behind The Scenes

หมู่บ้านวันเดอร์กับเป้าหมาย zero-landfill

29 พฤศจิกายน 2563 | Wonderfruit

เดอะฟิลดส์ เป็นพื้นที่สีเขียวที่สดชื่นและมีทัศนียภาพที่สวยงาม ไม่เพียงเป็นสถานที่ที่เราใช้สร้างสรรค์งานหมู่บ้านวันเดอร์ มอบประสบการณ์ความสนุกให้กับทุกคนที่มาเยือน ที่นี่ยังเป็นสถานที่ที่คุณจะได้มาลอง้ไลฟ์สไตล์ที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ไม่ทิ้งร่องรอยสกปรกตกค้าง และยังทำอะไรดีๆ ตอบแทนคืนกลับไป

 

และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราจึงได้ตั้งระเบียบข้อปฏิบัติต่างๆ ขึ้นมา และใช้อย่างแพร่หลายทั่วทั้งงาน รวมถึงให้ผู้มาร่วมงานได้มีส่วนร่วมลงมือทำด้วยกันคนละเล็กคนละน้อยอีกด้วย

 

 

เป้าหมาย ZERO LANDFILL ไร้ขยะส่งไปที่หลุมฝังกลบ

 

ที่หมู่บ้านวันเดอร์มีการแยกขยะออกเป็น 7 ด้วยกัน ได้แก่ กระป๋องและขวดแก้ว มะพร้าว ภาชนะและช้อมส้อม เศษอาหาร ของเหลว กล่องน้ำ และขยะรีไซเคิลไม่ได้ ขยะแต่ละประเภทจะถูกนำไปบำบัดหรือส่งไปใช้ประโยชน์ยังแหล่งอื่นๆ ในขั้นตอนต่อไปนี้

 

ขยะเศษอาหารจะถูกนำไปย่อยสลายบริเวณจัดการขยะในงาน เปลี่ยนสภาพเป็นปุ๋ยอินทรีย์ก่อนจะนำไปแจกจ่ายแก่เกษตรกร

 

ขยะที่เป็นของเหลว ก็จะถูกนำไปบำบัดด้วยวิธีการทางชีวภาพ เพื่อเปลี่ยนสภาพให้เป็นของเหลวที่ไร้สารตกค้างก่อนปล่อยลงสู่ธรรมชาติ

 

ภาชนะที่ผลิตจากวัสดุย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น แก้วชานอ้อย จานชามกระดาษ ก็จะถูกนำไปย่อยสลายรวมกับเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน

 

กระป๋องอะลูมิเนียม จะถูกนำไปคัดแยกเพื่อส่งไปรีไซเคิลต่อเป็นวัสดุตั้งต้นสำหรับนำไปสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงขวดแก้วด้วยเช่นกัน ก็จะถูกนำไปรีไซเคิลเป็นวัสุดตั้งต้นสำหรับผลิตแก้วอย่างอื่นต่อไป

 

สำหรับมะพร้าวก็จะถูกส่งกลับไปยังสวมะพร้าวลุงวิทย์ที่สามพราน นครปฐม เพื่อนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์บำรุงพืชผลในสวนที่เป็นแหล่งต้นทางมะพร้าว

 

กล่องน้ำก็จะทำแบนเสียก่อน แล้วนำไปรีไซเคิลต่อกับทางไฟเบอร์พัฒน์ ผลิตเป็นหลังคารีไซเคิลให้กับชุมชนได้ใช้สอยอีกที

 

ส่วนขญะที่รีไซเคิลไม่ได้ จะถูกรวบรวมแล้วนำไปส่งต่อให้กับโรงปูนเพื่อใช้เป็นพลังงานทางเลือกในเตาเผา

 

 

ห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง

 

ที่หมู่บ้านวันเดอร์ เราได้ออกกฏห้ามนำพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งมาใช้ในงานโดยเด็ดขาด วิธีการนี้ช่วยลดขยะจากภาชนะบรรจุได้เป็นจำนวนมาก

 

ภาชนะที่ใช้ในงานจึงใช้ประเภทที่ทำมาจากวัสุดย่อยสลายได้ เช่น ชานอ้อย ไม่เพียงจะช่วยลดปัญหาขยะสร้างมลพิษ  ยังเป็นการช่วยส่งเสริมเกษตรกรไร่อ้อยในอีกทางหนึ่งด้วย ตลอดจนช้อนส้อมต่างๆ ก็ทำมาจากวัสดุไม้ไผ่ และเมื่อใช้งานเสร็จแล้วก็ยังสามารถนำไปย่อยสลายทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ต่อ

 

สำหรับหลอดดูดก็ใช้ประเภทที่ทำมาจากกระดาษ งานต่อการนำไปบำบัดในขั้นต่อต่อไป รวมถึงป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ในงานก็ใช้เป็นผ้าใบทดแทนการใช้พลาสติก PP บอร์ด หรือแผ่นวัสดุไวนีล

 

 

สร้างมาตรฐานที่แชร์ต่อได้

 

เรามุ่งมั่นที่จะสร้างระบบการจัดงานอีเวนต์อย่างยั่งยืน เพื่อให้เป็นมาตรฐานและแบ่งปันให้ผู้จัดงานอื่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดงานได้

 

เราจึงอยากให้ผู้มาร่วมงานหมู่บ้านวันเดอร์ได้มาลองซึมซับเนื้อหาต่างๆ ด้วยตัวเอง และตระหนักถึงความสำคัญของการนำวิถียั่งยืนมาประยุกต์เป็นไลฟ์สไตล์หนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องของการงดใช้วัสดุอายุสั้นแบบครั้งเดียวทิ้ง การย่อยสลายขยะด้วยตนเอง ตลอดจนการบริโภคอาหารอย่างคุ้มค่าและมีจิตสำนึก

 

เราจัดทำสรุปข้อมูลและแนวปฏิบัติต่างๆ สำหรับแจกจ่ายในปีถัดไป ให้กับผู้ที่ต้องการแนวทางในการจัดงานอีเวนต์อย่างยั่งยืน การสร้างระบบหมุนเวียนในงาน ตลอดจนวิธีการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ หรือหากคุณมีข้อเสนอแนะ เรายินดีรับฟังเสียงจากคุณ

 

สามารถส่งอีเมลหาเราได้ทาง info@wonderfruit.co